วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คุณค่าผัก

1. สะเดา (Neem tree) มีเบต้าแคโรทีนสูงบำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ


2. ผักกาดขาว (Chinese white cabbage) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูงบำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์


3. หัวหอมเล็ก (Shallot) มีน้ำมันหอมระเหยบรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง


4. แครอต (Carrot) เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพ็กเตต ลดระดับ คอเลสเตอรอลได้


5. หอมหัวใหญ่ (Onion) มีสารฟลาโวนอยด์ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


6. คะน้า (Chinese kale) มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง


7. พริก (Chilli) มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ


8. กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ลดความดันโลหิตบำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ


9. ผักกระเฉด (Water mimosa) ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร


10. ตำลึง (Ivy gourd) มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร



11. มะระ (Chinese bitter cucumber) มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อนๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด


12. ผักบุ้ง (Water spinach) บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด


13. ขึ้นฉ่าย (Celery) กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหารมีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด


14. เห็ด (Mushroom) แคลอรีน้อย ไขมันต่ำมีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน


15. บัวบก (Indian pennywort) มีวิตามินบีสูงช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำบำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ


16. สะระแหน่ (Kitchen mint) กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว


17. ชะพลู (Cha-plu) รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง


18. ชะอม (Cha-om) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับอนุมูลอิสระ


19. หัวปลี (Banana flower) รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีนและวิตามินซีสูง


20. กระเทียม (Garlic) ลดไขมันในเลือดป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลต เหล็กวิตามินซีสูง


21. โหระพา (Sweet basil) น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีนแคลเซียม


22. ขิง (Ginger) บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ


23. ข่า (Galangal) น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา


24. กระชาย (Wild ginger) บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม


25. ถั่วพู (Winged bean) ให้คุณค่าทางอาหารสูงมีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว


26. ดอกขจร (Cowslip creeper) กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน


27. ถั่วฝักยาว (Long bean) มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด


28. มะเขือเทศ (Tomato) มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง


29. กะหล่ำปลี (White cabbage) มีกลูโคซิโนเลต เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินสูง


30. มะเขือพวง (Plate brush eggplant) ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส


31. ผักชี (Chinese parsley) ขับลม บำรุงธาตุช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง


32. กุยช่าย (Flowering chives) มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง


33. หัวไชเท้า (Chinese radish) แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี


34. กะเพรา (Holy basil) แก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือดได้


35. แมงลัก (Hairy basil) ช่วยย่อยอาหารป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ


36. ดอกแค (Sesbania) กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อนๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา


และ 37. หญ้าอ่อน กินเพิ่มความคึกคักให้กระชุ่มกระชวย หัวใจสูบฉีด สมองแจ่มใส อายุยืนยาว สำหรับทุกเพศโดยเฉพาะวัยสูงอายุ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น